MISEQ
 
 

   Illumina Miseq ใช้สำหรับทำอะไร?

Illumina Miseq เป็นเทคโนโลยีใหม่ของ Next Generation Sequencing (NGS) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต Illumina Miseq เป็นแพลตฟอร์มการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์โดยอาศัยการสังเคราะห์ดีเอ็นเอขึ้นมา ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในปัจจุบันพบว่ามีวารสารทางวิชาการมากกว่า 4,800 ฉบับจากทั่วโลกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการศึกษาลำดับของสารพันธุกรรม แพลตฟอร์ม Miseq จะทำงานโดยการสร้างคลัสเตอร์ของดีเอ็นเอ เพิ่มจำนวน และอ่านลำดับเบสภายในการทำงานของเครื่องหนึ่งครั้ง

เมื่อนิวคลีโอไทด์ที่ถูกติดฉลากเรืองแสงไปเกาะบนสายดีเอ็นเอ สัญญาณของฟลูออโรฟอร์เหล่านี้จะถูกบันทึกโดยการปล่อยออกมาเป็นสี ซึ่งจะมีสีที่แตกต่างกันไปตามสีของแสงฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นฟลูออโรฟอร์ที่ถูกปล่อยออกมาเหล่านี้จะเข้าจับกับสายดีเอ็นเออีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ในรอบถัดไป ซึ่งจะพบว่าในการทำงานของเครื่องหนึ่งครั้งจะสามารถอ่านลำดับเบสได้มากถึง 10,000,000 ครั้งเลยทีเดียว

แพลตฟอร์ม Miseq ในปัจจุบันมีความยาวของลำดับเบสที่ยาวที่สุดในการอ่าน คือ 2 x 300 bp และสร้างข้อมูลได้มากถึง 15 Gb จากการอ่านลำดับเบส 25 ล้านครั้ง NGS ที่ใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทกว้างๆ ได้แก่ (i) การศึกษาความหลายหลากของแบคทีเรีย (ii) การหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วน (iii) RNA-sequencing เช่น miRNA และ RNA ขนาดเล็ก และ (iv) Epigenome sequencing ดังนั้นเทคโนโลยี Illumina Miseq นี้จึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตที่สนใจได้อย่างครบถ้วน


 
   ประสิทธิภาพของระบบ Miseq

Referent :
https://sapac.illumina.com/systems/sequencing-platforms/miseq.html
https://production.wordpress.uconn.edu/cagt/wp-content/uploads/sites/255/2014/08/MiSeq_Datasheet_2014.pdf

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้